ชี้ มหกรรมกีฬาปี66 ดัน “สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง” รีเทิร์น

นายเอกก์ ภทรธนกุล อุปนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยและหัวหน้าภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ปี2566 จึงเป็นปีที่มีรายการแข่งขันกีฬาจำนวนมาก เพราะคอนเทนต์กีฬาเป็นไลฟ์สไตล์ส่วนหนึ่งของผู้คนทั่วโลก การกลับมาของรายการแข่งขันต่างๆ ทำให้เกิดมิติใหม่ในการรวมกลุ่มผู้ชม มีทั้งการรับชมผ่านทางทีวีที่มีการถ่ายทอด การเดินทางไปชมในสถานที่จัดการแข่งขัน การรวมกลุ่มชมกีฬาพร้อมกันในสถานที่ใดที่หนึ่งโดยชมผ่านช่องทางสื่อสารเดิมคือ ทีวี หรือช่องทางใหม่ในโซเชียลมีเดีย และอีกมิติที่เป็นรูปแบบใหม่ของยุคดิจิทัลคือการชมและเชียรกีฬาร่วมกันแบบอินเตอร์แอคทีฟทางออนไลน์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากการแข่งขันกีฬา E-sport 

“นักการตลาดกำลังมีช่องทางการสื่อสารกับผู้บริโภคได้ตรงกลุ่มมากขึ้นผลลัพธ์ของการใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งคือคุณสามารถขยายฐานลูกค้าได้เพิ่มขึ้นและลดต้นทุนการตลาดต่อหน่วยลงได้แม้ในภาพรวมของแผนดำเนินงานคุณอาจต้องใช้งบประมาณรวมมากขึ้นแต่เมื่อคิดเฉลี่ยต่อหน่วยนับว่าคุ้มค่ามาก”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ จึงกล่าวได้ว่า ปี 2566 เป็นปีทองของผู้ชมกีฬาเพราะมีไทม์ไลน์คอนเทนต์กีฬาทุกประเภทให้เลือกชมได้ตลอดปี ทั้งยังเป็นปีทองของนักการตลาดในการสร้างโอกาสใหม่ให้แบรนด์สินค้าและบริการ โดยมหกรรมกีฬาร้อนแรงที่สุดสำหรับประเทศไทยคงหนีไม่พ้น “เอเชี่ยนเกมส์ 2022” ครั้งที่ 19 ซึ่งถูกเลื่อนการจัดแข่งขันมาจากปีที่แล้ว และระหว่าง 23 กันยายนถึง 8 ตุลาคม 2566 นี้ กำลังจะจัดขึ้นที่นครหางโจว ซีลิคอนวัลเลย์ ของประเทศจีนคำพูดจาก สล็อตแตกง่าย

นายเอกก์ กล่าวว่า คอนเทนต์กีฬาทรงพลังและมีอิทธิพลต่อแบรนด์สินค้า เพราะสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งไม่ได้จำเพาะอยู่ในหลัก 4P (Product, Price, Place, Promotion) ของการทำการตลาด หากยังเพิ่มมุมมองอีก 3P เข้าไปด้วยคือ people ไม่ว่าจะเป็นทีม หรือตัวนักกีฬารายบุคคล passion เป็นเรื่องราวของกลุ่มแฟนคลับที่นักการตาดต้องมีความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมของแฟนคลับซึ่งมีพลังในการ “ปกป้อง” หรือ “ทำลาย” ชื่อเสียงของแบรนด์ได้ และ prompt คือความทันท่วงทีในการตอบสนองต่อคอนเทนต์กีฬาที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันโดยไม่มีข้อจำกัด

“ผมมองว่าสปอร์ตมาร์เก็ตติ้งสำหรับนักการตลาด ควรมีตัวช่วยที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การทำงานร่วมกับบริษัทบริหารจัดการด้านกีฬาที่มีความเข้าใจคอนเทนต์การกีฬา และการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมจะทำให้บรรลุผลลัพธ์ทางการตลาดที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้” 

สำหรับแบรนด์สินค้าที่ประสบความสำเร็จมากในการใช้สปอร์ตมาร์เก็ตติ้งมาส่งเสริมความภักดีในแบรนด์ เห็นได้จาก SCG กับการสนับสนุนกีฬาแบดมินตันและกอล์ฟ โดยเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันกีฬาและตัวนักกีฬา ที่สามารถสร้างฐานแฟนคลับ จากนั้นต่อยอดด้วยการใช้ Relationship Marketing เมื่อต้องการสร้างคอนเทนต์การตลาดต่อเนื่อง ในเรื่องที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร เช่น กิจกรรมเพื่อสังคม โดยให้นักกีฬาเป็นตัวตั้งต้นคอนเทนต์ที่จูงใจ และขยายผลการสนับสนุนจากกลุ่มแฟนคลับผ่านการสื่อสารในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ 

You May Also Like

More From Author